คลินิกกายภาพบำบัด

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู (Rehabilitation Department) 
เปิดให้บริการทางการแพทย์ทั้งหมด 4 คลินิก ได้แก่  คลินิกแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู  คลินิกกายภาพบำบัด  คลินิกกิจกรรมบำบัด และคลินิกฝังเข็ม โดยแพทย์และสหวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ทางสาขาวิชาโดยเฉพาะ

1.คลินิกแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

เวชศาสตร์ฟื้นฟู คืออะไร

เวชศาสตร์ฟื้นฟู คือ วิชาการทางการแพทย์สาขาหนึ่งที่มุ่งเน้นให้การรักษาดูแลและฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วย เพื่อให้กลับคืนสู่สภาพที่ใกล้เคียงปกติมากที่สุด และ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความพิการซ้ำซ้อน หรือ ลดความพิการที่อาจเกิดขึ้น โดยการดูแลทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู เน้นการดูแลผู้ป่วยร่วมกันเป็นทีม ซึ่งประกอบด้วย แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด และ เจ้าหน้าที่ทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู

   แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู คือใคร
แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาหนึ่งที่มีความสามารถในการตรวจประเมิน และวางแผนการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหา สมรรถภาพถดถอย โรคเรื้อรัง และปัญหาความพิการ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถดำเนินกิจวัตรประจำวัน หรือการทำงานได้ตามปกติ รวมถึงให้คำแนะนำเรื่องการใช้อุปกรณ์เสริมและเทียม

  ผู้ป่วยกลุ่มใดบ้างที่ควรได้รับการดูแลทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูร่วม
1. ผู้ป่วยที่มีโรคหรือความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ข้อเข่าเสื่อม หมอนรองกระดูกทับเส้น ผู้
ป่วยหลังการผ่าตัดกระดูก รวมถึง ผู้ป่วยพิการแขน/ขาขาด เป็นต้น
2. ผู้ป่วยที่มีโรคหรือความผิดปกติของระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดสมอง พูดไม่ชัด กลืนลำบาก มีอาการอ่อนแรงของ
กล้ามเนื้อแขนขา เป็นต้น
3. ผู้ป่วยเด็กที่มีพัฒนาการช้า เท้าผิดรูป
4. ผู้ป่วยที่มีโรคหรือความผิดปกติของระบบหายใจ เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคปอดอักเสบ เป็นต้น
5. ผู้ป่วยที่มีโรคหรือความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด
6. ผู้ป่วยที่มีแผลไหม้

สอบถามเพิ่มเติมหรือนัดหมายก่อนเข้ารับบริการ
– เพื่อความสะดวกในการเข้ารับบริการ กรุณาโทรนัดหมายล่วงหน้าที่
– เลื่อนวันเวลานัด กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนทุกครั้ง
– ตรวจสอบสิทธิการรักษา สิทธิการเบิกฯ ได้ตลอดเวลาทำการ

ขอบเขตการให้บริการทางกายภาพบำบัด

คลินิกกายภาพบำบัด  ให้บริการโดยทีมนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์  ให้การรักษา ป้องกัน และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย ด้วยวิธีการดัดดึง การบริหารร่างกาย และการใช้อุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด ในการดูแลผู้ป่วยระบบต่างๆ ได้แก่

1. ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น ผู้ที่มีปวดคอบ่า ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดเข่า จากอุบัติเหตุหรือจากการทำงาน (office syndrome) ผู้ที่บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เพื่อลดอาการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อและข้อ ฟื้นฟูระบบโครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อให้แข็งแรง เช่น ในผู้ที่รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ข้อเข่า เป็นต้น

2. ระบบประสาท ได้แก่ การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต อัมพาตกล้ามเนื้อหน้า ผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะถดถอยของกระดูกและกล้ามเนื้อ เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

3. ระบบหัวใจและหลอดเลือด มีการวางแผนโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคหัวใจ ฟื้นฟูหลังผ่าตัดหัวใจ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ

4. ระบบทางเดินหายใจ นักกายภาพบำบัดจะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนในระบบทางเดินหายใจ โดยวิธีการ เคาะปอด ดูดเสมหะ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ สอนไอ และฝึกหายใจ ในผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด เช่น ผ่าตัดระบบทางเดินอาหาร ผ่าตัดทรวงอก เป็นต้น

เครื่องมือและบริการทางกายภาพบำบัด
– รักษาโดยคลื่นไฟฟ้าความร้อนลึก (Shot Wave Diathermy)
– รักษาโดยคลื่นเหนือเสียง (Ultrasound), เครื่องเลเซอร์ ( Laser )
– การดึงหลัง (Pelvic Traction ) , การดึงคอ (Cervical Traction)
– การประคบความร้อน (Hot pack), การประคบเย็น (Cold Pack)
– การดัดและดึง (Mobilization and Manipulation)
– การกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า (Electrical Stimulation)
– เตียงปรับระดับ ( Tilt table ) เพื่อปรับความดัน ฝึกการลงน้ำหนัก ในผู้ป่วยนอนนาน อ่อนแรงขา
– การออกกำลังเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว (Range of motion exercise)
– การให้การรักษาด้วยไฟฟ้าลดปวด (Interferential, TENS)
– การให้ความร้อนแบบขี้ผึ้ง (Paraffin Wax)
– การออกกำลังเพิ่มความแข็งแรง (Strengthening exercise)
– การออกกำลังกายแบบทำให้ (Passive exercises)
– การให้การรักษาผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ (Chest Physical Therapy )
– การฝึกเดิน (Gait training) ,การฝึกกิจวัตรประจำวัน (ADL training)

สอบถามเพิ่มเติมหรือนัดหมายก่อนเข้ารับบริการ
– เพื่อความสะดวกกรุณาโทรนัดหมายล่วงหน้าที่ แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โทร. 044-376555
– เลื่อนวันเวลานัด กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนทุกครั้ง
– ตรวจสอบสิทธิการรักษา สิทธิการเบิกฯ ได้ตลอดเวลาทำการ

อาคารรัตนเวชพัฒน์  ชั้น8 แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู

*โปรดโทรนัดหมายและยืนยันวันออกตรวจของแพทย์กับพยาบาลก่อนรับการตรวจทุกครั้ง

ติดต่อสอบถามข้อมูลโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 044-376555